top of page

เครื่องมือทางประวัติศาสตร์

 นักวิชาการทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์นิยมกำหนดพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติออกเป็น 2 ยุค หรือสมัยด้วยกัน คือ 

สมัยก่อนประวัติศาสตร์กับสมัยประวัติศาสตร์ 

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-historical Period) คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่มีตัว
     อักษรจดบันทึกเรื่องราวของสังคม นักโบราณคดีเป็นผู้ศึกษาเรื่องราวของสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นหลัก โดยศึกษาจากซากพิมพ์ดึกดำบรรพ์หรือพิมพ์หิน โบราณสถาน โบราณวัตถุ โครงกระดูกสิ่งของเครื่องใช้ ภาพวาดตามผนังหรือบนสิ่งของต่างๆ เป็นต้น โดยสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีการแบ่งเป็นยุคย่อย คือ ยุคหินกับยุคโลหะ ทั้งนี้ยุคหินยังมีการแบ่งออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลางและยุคหินใหม่ ส่วนยุคโลหะก็มีการแบ่งเป็นยุคสำริดกับยุคเหล็ก

 

  สมัยประวัติศาสตร์ (Historical Period) คือ ช่วงเวลาที่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์
อักษรบอกเล่าเรื่องราวของสังคมนั้นๆ อักษรนั้นอาจเป็นตัวอักษรของชนชาติอื่นก็ได้แต่นำมาใช้บันทึกคำพูดเป็นเรื่องราวของสังคมตน โดยสมัยประวัติศาสตร์มีการแบ่งเป็นสมัยย่อย คือ สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และสมัยปัจจุบัน

 

  สมัยก่อนประวัติศาสตร์
     1. ยุคหิน (Stone Age)
         1.1 ยุคหินเก่า (Paleolithic Period หรือ Stone Age) อยู่ระหว่าง 2,500,000 -10,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ในยุคนี้อาศัยอยู่ในถ้ำหรือเพิงผา ยังไม่มีความคิดสร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้วัสดุธรรมชาติหรือตั้งรกรากถาวร ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ หาปลา และเก็บหาผลไม้ในป่า เมื่ออาหารตามธรรมชาติหมดก็อพยพไปหาแหล่งอาหารที่อื่นต่อไป มนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักประดิษฐ์เครื่องมืออย่างหยาบๆ เครื่องมือที่ใช้ทั่วไป คือ เครื่องมือหินกะเทาะ ที่มีลักษณะหยาบ ใหญ่ หนากะเทาะเพียงด้านเดียวหรือสองด้าน ไม่มีการฝนให้เรียบ มนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักนำหนังสัตว์มาทำ
เป็นเครื่องนุ่งห่ม รู้จักใช้ไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแกร่างกาย ให้แสงสว่าง ให้ความปลอดภัย และหุงหาอาหาร มีการฝังศพ ทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการตาย และมีการนำเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธต่างๆ ของผู้ตายฝังไว้ในหลุมด้วย นอกจากนี้มนุษย์ยุคหินเก่ายังรู้จักสร้างสรรค์งานศิลปะ ซึ่งพบภาพวาดตามผนังถ้ำที่ใช้สีฝุ่นสีต่างๆ ได้แก่ สีดำ น้ำตาล ส้ม แดงอ่อน และเหลือง ภาพที่วาดส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ เช่น วัวกระทิง ม้าป่า กวางแดง เป็นต้น ภาพวาดที่มีชื่อเสียงของมนุษย์ยุคหินเก่าอยู่ที่ถ้ำลาสโก ประเทศฝรั่งเศส

ขวานหินยุคหินเก่า อายุประมาณ 700,000 ปีมาแล้ว 
พบที่โอลดูเว่ (Olduvai) ประเทศแทนซาเนีย
ภาพจาก : History of the World : The Human

 หลักฐานเครื่องมือหินที่นักโบราณคดีพบตามที่ต่างๆ เช่น ทวีปยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย และทวีปอเมริกา ทำให้มีการตั้งชื่อมนุษย์ยุคนี้ตามสถานที่ที่พบหลักฐาน เช่น มนุษย์ชวา พบที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย มนุษย์ปักกิ่ง พบที่ถ้ำใกล้กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มนุษย์นีแอนเดอร์ธัล พบที่หุบเขาแอนเดอร์ ประเทศเยอรมนี มนุษย์โครมันยองพบที่ถ้ำโครมันยอง ประเทศฝรั่งเศส มนุษย์โครมันยองเป็นมนุษย์ยุคหินเก่ารุ่นสุดท้าย (อายุระหว่าง 30,000-17,000 ปีมาแล้ว) ที่ค้นพบและมีลักษณะเหมือนมนุษย์ปัจจุบัน

1.2 ยุคหินกลาง (Mesolithic Period หรือ Middle Stone Age) อยู่ระหว่าง10,000-6,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้รู้จักทำเครื่องมือหินที่มีความประณีตมากขึ้นด้วยการกระเทาะผิวด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านออกให้เกิดความคม ทำให้เครืองมือหินในยุคนี้มีรูปทรงที่เหมาะแก่การใช้งานมากขึ้นกว่าเดิม เครื่องมือยุคหินกลางที่พบมีทั้งเครื่องมือสับ ตัด ขุด และทุบหลักฐานเครื่องมือหินของมนุษย์ในยุคหินกลางพบในทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย โดยพบครั้งแรกในเวียดนาม เรียกว่า วัฒนธรรมฮัวบิเนียน จัดเป็นวัฒนธรรมยุคหินกลางของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทยด้วย

กระโหลกศีรษะมนุษย์โครมันยอง เก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์มนุษยชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสภาพจาก : The Complete Illustrared
World Encyclopedia of Archaeology,

เครื่องมือยุคหินใหม่พบในตะวันออกกลาง 
http://anthropology.net/2007/0/5/27/
what-does-neolithic-mean

1.3 ยุคหินใหม่ (Neolithic Period หรือ New Stone Age) อยู่ระหว่าง 6,000 -4,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้มีความเจริญทางวัตถุมากกว่ายุคหินกลาง รู้จักควบคุมธรรมชาติมากขึ้น รู้จักพัฒนาการทำเครื่องมือหินอย่างประณีตโดยมีการขัดฝนหินทั้งชิ้นให้เป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ เพื่อให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพในการใช้สอยมากขึ้นกว่าเครื่องมือรุ่นก่อนหน้านี้ เช่น มีดหินที่สามารถตัดเฉือนได้แบบมีดโลหะ มีการต่อด้ามยาวเพื่อใช้แผ่นหินลับคมเป็นเสียมขุดดิน หรือต่อด้ามไม้สำหรับจับเป็นขวานหิน สามารถปั้นหม้อดินและใช้ไฟเผา สามารถทอผ้าจากเส้นใยพืชและทอเป็นเชือกทำเป็นแหหรืออวนจับปลา ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งที่จำแนกมนุษย์ยุคหินใหม่ออกจากมนุษย์ยุคหินกลางก็คือการที่มนุษย์ยุคนี้รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในระดับที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น มีการปลูกข้าวและพืชอื่นๆ เช่น ถั่วฟัก บวบ และเลี้ยงสัตว์หลายชนิดมากขึ้น เช่น แพะ แกะและ วัว ซึ่งก็คงทั้งไว้ใช้งานและเป็นอาหาร
     วัฒนธรรมยุคหินใหม่พบอยู่ทั่วโลก แต่หลักฐานสำคัญที่มีลักษณะโดดเด่น คือ การสร้างอนุสาวรีย์หิน (Megalithic) ที่มีชื่อเสียง คือ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ในประเทศอังกฤษสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้คำนวณเวลาทางดาราศาสตร์ เพื่อพิธีกรรม เพื่อบวงสรวงดวงอาทิตย์และเพื่อผลผลิตทางการเพาะปลูก

สโตนเฮนจ์ กลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ บริเวณที่ราบซัลลิสเบอร์รี ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ 
สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นมาเมื่อ 5,000 ปีมาแล้ว
ภาพจาก : The Complete Illustrated world Encyclopedia of Archeology, P. 179.
วัฒนธรรมยุคหินใหม่พบอยู่ทั่วโลก แต่หลักฐานสำคัญที่มีลักษณะโดดเด่น คือ การสร้าง
อนุสาวรีย์หิน (Megalithic) ที่มีชื่อเสียง คือ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ในประเทศอังกฤษ
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้คำนวณเวลาทางดาราศาสตร์ เพื่อพิธีกรรม เพื่อบวงสรวงดวงอาทิตย์
และเพื่อผลผลิตทางการเพาะปลูก

 

   2. ยุคโลหะ (Metal Age) เริ่มเมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้มีความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอันแสดงถึงการพัฒนาความสามารถทางความคิด ด้วยการมีความสามารถนำโลหะมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้นั่นเอง ในระยะแรกของยุคโลหะจะพบว่าพวกเขารู้จักหลอมทองแดงและดีบุกซึ่งเป็นโลหะที่ใช้อุณหภูมิไม่สูงนักในการหลอม ต่อมาจึงพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีขึ้นมาจนสามารถหลอมเหล็กได้ ซึ่งการหลอมเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูง นักโบราณคดีจึงแบ่ยุคโลหะออกเป็น 2 ยุคตามความแตกต่างของระดับเทคโนโลยีและวัสดุที่นำมาใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ ดังนี้
        2.1 ยุคสำริด (Bronze Age) การเริ่มต้นของยุคสำริดในแต่ละภูมิภาคจะต่างกันไปแต่ส่วนใหญ่จะเริ่มระหว่างประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ในช่วงเวลานี้มนุษย์รู้จักนำทองแดงผสมกับดีบุกหลอมรวมกันกลายเป็นโลหะผสมที่เราเรียกว่า สำริด มาใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธที่มีคุณภาพดีกว่าที่ทำจากหินขัดมาก การดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคนี้ก็เปลี่ยนไปจากการเป็นชุมชนเกษตรกรรมเล็กๆ กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่เราเรียกว่าชุมชนเมือง มีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ของคนในสังคมตามความสัมพันธ์และความสามารถ ซึ่งพัฒนาการนี้ทำให้สังคมมีความมั่นคงและมีการสั่งสมอารยธรรมได้อย่างรวดเร็วกว่าที่ผ่านมา แหล่งอารยธรรมสำคัญที่มีพัฒนาการจากสังคมสมัยหินใหม่สู่สมัยสำริด เช่น แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียในภูมิภาคเอเชีย-ตะวันตก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ในประเทศอียิปต์ แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดีย และแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงเหอในประเทศจีน เป็นต้น
        2.2 ยุคเหล็ก (Iron Age) เริ่มเมื่อประมาณ 3,200 ปีมาแล้ว เป็นช่วงของการพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ต่อเนื่องจากยุคสำริด หลังจากที่มนุษย์สามารถนำทองแดงมาผสมกับดีบุกและหลอมเป็นโลหะผสมได้แล้ว มนุษย์ก็คิดค้นหาวิธีนำเหล็กซึ่งเป็นโลหะที่มีความแข็งและทนทานกว่าสำริดมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธ ด้วยการใช้อุณหภูมิในการหลอมที่สูงกว่าการหลอมสำริด แล้วจึงตีโลหะเหล็กในขณะที่ยังร้อนอยู่ให้เป็นรูปทรงที่ต้องการ เนื่องจากเหล็กใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้มีความเหมาะสมกับงานการเกษตรที่ต้องใช้ความแข็งแรงมากกว่าสำริดและมีความทนทานกว่าด้วย จึงทำให้มนุษย์ยุคเหล็กสามารถทำการเกษตรได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นนอกจากนี้เหล็กยังใช้ทำอาวุธที่มีความแข็งแกร่งและทนทานกว่าสำริด จึงทำให้สังคมมนุษย์ยุคนี้ที่พัฒนาเข้าสู่ยุคเหล็กและเข้าสู่ความเป็นรัฐได้ด้วยการมีกองทัพที่มีประสิทธิภาพกว่า สามารถปกป้องเขตแดนของตนเองได้ดีกว่า ทำให้สังคมเมืองของตนมีความมั่นคงปลอดภัย และในที่สุดก็สามารถขยายอิทธิพลไปยังดินแดนอื่นๆ ได้ในเวลาต่อมา

เครื่องมือทางการเกษตรและอาวุธยุคเหล็กในสมัยสามอาณาจักร บริเวณคาบสมุทรเกาหลี 
ภาพจาก Kaladarshan.arts.ohio-state.edu/studypayes/in

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
ร่องรอยมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทย

    ร่อยรอยหลักฐานของมนุษย์ซึ่งพบในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันที่เก่าสุดพบในอำเภอแม่ทะ  จังหวัดลำปาง  กำหนดอายุได้ราว 600,000 - 400,000 ปีมาแล้ว สันนิษฐานว่ามนุษย์เหล่านี้ดำรงชีพเร่ร่อน เก็บของป่าและล่าสัตว์อาจรู้จักการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทหินเพื่อการดักจับสัตว์  จนกระทั่งเมื่อราว 7,000 - 4,000 ปีมาแล้ว จึงปรากฎหลักฐานการดำรงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์ การทำเครื่องมือหิน ภาชนะดินเผา บางแห่งอาจมีการเพาะปลูกพืชและยังมีแบบแผนความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมการฝังศพ การบำบัดรักษาโรค ฯลฯ  อาทิ แหล่งโบราณคดีถ้ำผีแมน อำเภอเมือง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ฯลฯ

     ความซับซ้อนในแบบแผนการดำรงชีพของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์มีมากขึ้นนับแต่ประมาณ 4,000 - 3,500 ปีเป็นต้นมา มนุษย์เริ่มอยู่เป็นกลุ่มตั้งบ้านเรือนในพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศซึ่งแตกต่างจากเดิม รวมทั้งรับวัฒนธรรมจากดินแดนที่อยู่ตอนในของผืนแผ่นดินใหญ่และดินแดนโพ้นทะเล จึงปรากฎว่าแหล่งโบราณคดีในช่วงเวลาดังกล่าวมีประดิษฐกรรมที่่ใช้วัสดุหลากหลายชนิด เช่น เครื่องมือเครื่องใช้จากสำริด เหล็ก เครื่องประดับแก้วและหินกึ่งมีค่า (semi precious stone ) ฯลฯ

 

 

bottom of page